รอบรู้เรื่องสมุนไพร...ปัญจขันธ์


ปัญจขันธ์
ช่วยลดคลอเรสเตอรอล ปรับระดับสมดุลของความดันเลือดในร่างกาย
ระบบย่อยอาหาร ระดับน้ำตตาลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ
ชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกาย ช่วยให้นอนหลับ คลายความวิตกกังวล ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynostemma pentaphyllum (Thunb.)
ชื่ออื่น ชาสตูล เบญจขันธ์ เจียวกู่หลาน เซียนเฉ่า
ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวาน
สรรพคุณและวิธีใช้ แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด การใช้ลำต้นใต้ดิน การใช้เถาปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบที่ร่ม อากาศชื้น ไม่ชอบอากาศร้อนจัด ไม่ทนความแห้งแล้ง
การปลูก ย้ายกล้าประมาณ 45-60 วัน ไปปลูกในแปลงปลูก นิยมปลูกเป็นแถวแบบยกร่อง ขุดหลุมกว้างลึกประมาณ 1 คืบ ใส่ปุ๋ยหมักพร้อมเชื้อราสีเขียว(ไตรโคเดอร์มา) รองก้นหลุมประมาณหลุมละ 1 กำมือ พื้นที่ปลูกควรมีร่มเงา หรือมีแสงรำไร
การบำรุงรักษา ในช่วงแรกของการปลูกต้องมีการให้ร่มเงาและบังแสงแดด และให้ความชื้นสม่ำเสมอ (รดน้ำเช้า-เย็น) เมื่อปลูกไปได้สักระยะควรมีการให้ปุ๋ย พรวนดิน ตัดกิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือกิ่งแห้งออกไป
เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข “แนวทางการผลิตวัตถุดิบปัญจขันธ์ ในประเทศไทย” พิมพ์ที่ ร้านพุ่มทอง ครั้งที่ 1 นนทบุรี 2548

ปัญจขันธ์ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ

ปัญจขันธ์ พืชล้มลุกชนิดเถาเลื้อยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมีในประเทศไทย อยู่ในวงศ์แตง แต่คนไทยเพิ่งจะเริ่มปลูกและให้ความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่คนจีนในภาคใต้ของประเทศนำปัญจขันธ์มาบำรุงร่างกายกันนานแล้ว โดยคนจีนรู้จักกันในชื่อ เจียวกู่หลาน หรือเซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ) และเริ่มแพร่หลายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีชื่อญี่ปุ่นว่า อะมาซาซูรู แปลว่า ชาหวานจากเถา

มีงานวิจัยสมุนไพรนี้จากประเทศจีนและญี่ปุ่นจำนวนมาก พบว่ามีสารสำคัญที่เรียกว่าสารกลุ่มจิปพีโนไซด์ ซึ่งเป็นสารประเภทไตรเทอร์พีนซาโพนินที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารกลุ่มจินเซนโนไซด์ที่พบในโสม ทั้งๆที่พืชทั้ง ๒ ชนิด ไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยสารจิปพีโนไซด์ที่พบในปัญจขันธ์มีมากกว่า ๘๐ ชนิด โดยมี ๔ ชนิดที่เหมือนกับที่มีในโสม และอีก ๑๑ ชนิด มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับจินเซนโนไซด์ มีรายงานการวิจัยในห้องปฏิบัติการในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง

ฤทธิ์ของสารจิปพีโนไซด์ในปัญจขันธ์หรือสารสกัดปัญจขันธ์

ต้านอนุมูลอิสระ
ลดระดับไขมันในเลือด
เสริมภูมิคุ้มกัน
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด
ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
ต้านอักเสบ
ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีการพบสารซาโพนิน ชื่อฟาโนไซด์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยการให้แอลกอฮอล์ร่วมกับกรดเกลือ หรือจากยาต้านอักเสบอินโดเมทาซิน หรือจากการกระตุ้น ให้หนูเกิดความเครียด
กระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์จากเซลล์ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ป้องกันการเกิดพิษต่อตับของสารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล คาร์บอนเตตราคลอไรด์
สำหรับการวิจัยทางคลินิกนั้น จีนจึงได้ศึกษาวิจัยประสิทธิผลของปัญจขันธ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัดและได้รับเคมีบำบัดรวมทั้งฉายแสง พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้มปัญจขันธ์ ขนาด ๓๐ กรัม/วัน นาน ๓ สัปดาห์ มีการแบ่งตัวของลิมโฟไซต์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับสมุนไพร กระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกชนิดหนึ่ง คือ ราก Radix Astragali seu Hedysari (Huangqi
)

นอกจากนี้ จากการวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัด พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับปัญจขันธ์มีการพยากรณ์โรคดีกว่า คือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งช้ากว่า และมีอายุยืนกว่าในประเทศญี่ปุ่นและจีนได้จดสิทธิบัตรของสารสกัดปัญจขันธ์เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ เครื่องสำอางบำรุงผิว ผม หนังศีรษะ ผลิตภัณฑ์กระตุ้นการเจริญของผม เครื่องดื่มหรือชาสมุนไพร อาหารสุขภาพ ยาทาลดความอ้วน อาหารช่วย ลดไขมันในเลือด สารสกัดช่วยกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ และสารจิปพีโนไซด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิด เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย ในส่วนของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีโครงการความร่วมมือกับประเทศจีน ในการนำสมุนไพรจีนมาทดลองปลูกในประเทศ ผลการศึกษาในเบื้องต้นพบว่า ปัญจขันธ์สายพันธุ์ของจีนมีสารสำคัญสูงกว่าสายพันธุ์ของไทย ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่พบว่าพันธุ์จากจีนมีสารสำคัญมากกว่าพันธุ์โครงการหลวงอ่างข่าง ซึ่งจะได้มีการขยายพันธุ์ต่อไป สำหรับสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรปัญจขันธ์พันธุ์ของไทยทางพฤกษเคมีเพื่อพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์คุณภาพ และศึกษาพบว่าปัญจขันธ์มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และได้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดด้วยน้ำของปัญจขันธ์ในขนาด ๖, ๓๐, ๑๕๐ และ ๗๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในหนูขาวนาน ๖ เดือนแล้ว พบว่ามีความปลอดภัย ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยในผู้ติดเชื้อ HIV

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยสมุนไพรได้ร่วมมือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ ในการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกปัญจขันธ์แบบอินทรีย์ในพื้นที่สวนป่าสันกำแพง และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร รวมทั้งศึกษาวิจัยร่วมกันถึงวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยวและการขยายพันธุ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้รับงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (งบยากจน) จำนวน ๑.๔ ล้านบาท ซึ่งได้นำไปใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายปลูกปัญจขันธ์ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตชาสมุนไพรปัญจขันธ์ต่อไป
การบรรยายประชุมวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพด้วยปัญจขันธ์

โดย : ดร.ประคองศิริ บุญคง


สรุปการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ฯ (วันพุธ)
เรื่อง "การส่งเสริมสุขภาพด้วยปัญจขันธ์"
โดย ดร.ประคองศิริ บุญคง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ


สมุนไพรปัญจขันธ์ เดิมมีชื่อว่า “เจียวกู่หลาน” ในประเทศจีนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร และใช้เป็นชาชง ต่อมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการบำรุงรักษาสุขภาพ การรับประทานเพื่อการรักษานั้นมีสรรพคุณรักษาอาการไอ, แก้ร้อนใน ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนามากยิ่งขึ้น พบว่าการรับประทานสมุนไพรปัญจขันธ์ ในปริมาณมากจะทำให้มีการเสริมสร้างและการรวมตัวของโปรตีนและกรดไขมันในตับ เสริมสร้างเซลล์ไขมันในกระดูก มีผลต่อการรักษาโรคภายในช่องอกและโรคโลหิตจาง ช่วยในการบำรุงสมอง ระงับประสาท สามารถต้านการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ในประเทศจีนมีการใช้ เจียวกู่หลานมานานแล้ว เพื่อรักษาโรคหลอดลมเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดแข็งตัว, ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ช่วยในการนอนหลับ, ลดอาการตื่นเต้น, ลดคอเลสเทอรอล, ควบคุมเบาหวาน ชะลอความชรา, ยืดอายุเซลล์, เพิ่มจำนวนอสุจิ และรักษาอาการปวดหัวข้างเดียว, ควบคุมการแพร่ของเซลล์มะเร็ง


ในประเทศไทยนั้น สมุนไพรปัญจขันธ์ที่มีอยู่ในเมืองไทยจะเป็น “เจียวกู่หลาน” พันธุ์ไทยนิยมปลูกทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนับสนุนให้ชาวเขามีการปลูก สมุนไพรปัญจขันธ์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงมากมีราคากิโลกรัมละ 1,000 กว่าบาท โดยถือว่าเป็นพืชที่มีความปลอดภัยสูง และเป็นยาพื้นบ้านของชาวเขาเผ่า “ลาฮู” โดยใช้ทั้งสมุนไพรทั้งต้นพอก และรักษาแผล รักษากระดูกอาการปวดกระดูก แต่ในประเทศจีนใช้ส่วนเหนือดินใช้เป็นยาแก้อักเสบ ขับเสมหะ แก้ไอและหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง และยังสามารถที่แปรรูปเป็นชาชง มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย, แก้อาการอ่อนเพลีย, ช่วยในการเจริญอาหาร, ช่วยให้นอนหลับ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย “โสมคน ” แต่สามารถรับประทานได้เป็นประจำและมีความปลอดภัย ต่างจาก“โสมคน ”ซึ่งหากใช้เกินปริมาณที่กำหนดอาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้


ในประเทศญี่ปุ่นนิยมนำสมุนไพรปัญจขันธ์เป็นยาที่ขับปัสสาวะ, ลดไข้, แก้อักเสบ, บำรุงกำลังและเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แก้ผมหงอก, ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ


สารออกฤทธิ์ของปัญจขันธ์มีชื่อเรียกว่า “กิปิโนไซด์ ” ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับ “จินเซ็นโนไซด์” ในโสมคน ปัญจขันธ์จะมีสารประกอบ ซาโปนิน 82 ชนิด ซึ่งโสมคนจะมีอยู่ 28 ชนิด แต่มีเหมือนกันอยู่ 4 ชนิด คือ

จินเซ็นโนไซด์อาร์บี-1
จินเซ็นโนไซด์อาร์บี-3
เซโนไซด์อาร์ดี
เซโนไซด์เอฟ-3

สถาบันการแพทย์ไทย - จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้จัดทำโครงการสนับสนุนการปลูกสมุนไพรปัญจขันธ์เพื่อลดการนำเข้าวัตถุดิบของสมุนไพร โดยมีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำพันธุ์มาจากประเทศจีนมาปลูกในประเทศไทย ซึ่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้รับความร่วมมือจากหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายหน่วยงาน อาทิ กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อที่ช่วยดูแลดินในการเพาะปลูกเพื่อให้มีคุณภาพ, กรมวิชาการเกษตรให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดูแลและตรวจเรื่องของคุณภาพ, องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้ที่ดินในการเพาะปลูก, กรมส่งเสริมการเกษตรและองค์การเภสัชกรรมช่วยดูแลในเรื่องของการตลาด


สมุนไพรปัญจขันธ์ เป็นไม้เลื้อย ชอบที่ร่ม อากาศชื้น ไม่ชอบอากาศร้อนจัดและไม่ทนความต่อความแห้งแล้ง ความสูงจากน้ำทะเล 300-3,200 เมตร ขั้นตอนการปลูกต้องทำการสำรวจดิน และความชื้นที่เหมาะสม สิ่งที่ต้องระวังคือ การปนเปื้อนของสารพิษ สารพิษตกค้าง สารหนูและโลหะหนัก

ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรปัญจขันธ์มาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

- ชาชง
- เครื่องสำอาง เช่น แชมพู, สบู่, โลชั่น ผสมสารคาร์โมมายด์ เพื่อให้ผิวพรรณนุ่มชุ่มชื้น
- อาหารเสริมสุขภาพ
- ชาชงพร้อมดื่ม
- ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งผสมปัญจขันธ์
- หมากฝรั่ง, ไอศกรีม

เรียบเรียงโดย
สถาบันการแพทย์ไทย - จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสมุนไพรปัญจขันธ์เป็นส่วนผสม:



พอลลีนา เคดี
Paulena KD
ส่วนประกอบที่สำคัญ สมุนไพรหลัก 5 ชนิด เช่น ปัญจขันธ์ เก๋ากี้ ชิซานดร้า เห็ดหลินจือ โสมเกาหลีและพืชสมุนไพรอีก 10 ชนิด
สรรพคุณ บำรุงอวัยวะต่างๆของร่ายกายเช่น ตับ ไต หัวใจ ม้ามและปอดให้ทำงานเป็นปกติ ทำให้ร่างกายแข็งแรง บำรุงโลหิต บำรุงประสาท เพิ่มสมาธิ บรรเทาอาการเครียด นอนไม่หลับ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคลอเรสเตอรอล บำบัดภูมิแพ้ ควบคุมเบาหวาน

เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพิ่มความเป็นหนุ่มสาว
วิธีรับประทาน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 1-2 ครั้ง ก่อนอาหาร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทะเบียนอย. เลขที่ 73-1-32023-1-0022

ราคาขาย 1,200 บาท
ราคาสมาชิก 878 บาท
PV 750 BV 550
PLAN A-B2
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม/สั่งซื้อสินค้า...

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสั่งซื้อสินค้าได้ที่...

ร้านสะดวกซื้อพอลลีน่า Paulena Shopping Plaza ขอขอบพระคุณลูกค้าที่ให้การอุดหนุนร้านของเราด้วยดีเสมอมา!

1 Response to "รอบรู้เรื่องสมุนไพร...ปัญจขันธ์"

  1. Unknown says:
    18 มกราคม 2561 เวลา 16:33

    I am grateful to you on the grounds that your article is exceptionally useful for me to continue with my exploration in same region. Your cited illustrations are all that much significant to my exploration field.This is extraordinary! It really exhibits to me where to broaden my online diaryเห็ด หลิน จื อ แดง ราคา

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาทั้งหมด